วันศุกร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2552

แหล่งท่องเที่ยวในประเทศ


เที่ยวไทยครึกครื้นเศรษฐกิจไทยคึกคัก


ข้อมูลทั่วไป : ของภูชี้ฟ้า

ตั้งอยู่ บ้านร่มฟ้าไทย ต.ตับเต่า อ.เทิง เป็นหน้าผาหินที่ยื่นออกไปเหนือทะเลหมอก มีความสวยงามโดดเด่น ปัจจุบันจัดตั้งเป็นวนอุทยานภูชี้ฟ้า การเดินทางสะดวกสบาย เป็นทางลาดยางตลอดเส้นทาง จนถึงลานจอดรถ จากนั้นเดินเท้าอีกไม่เกิน 20 นาทีก็ถึงยอดภูชี้ฟ้า

ขึ้นไปชมทิวทัศน์ เวลา 04.30 - 18.30 น.
ที่ทำการวนอุทยานภูชี้ฟ้า โทร. 053-918-764 (ตู้สาธารณะ)
สอบถามรายละเอียดข้อมูลการเดินทางสู่ภูชี้ฟ้าได้ที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว อ.เทิง ที่ว่าการ อ.เทิง โทร.053-795-345
มีที่กางเต็นท์พักแรมใกล้สำนักงานวนอุทยานภูชี้ฟ้า ไม่เสียค่าธรรมเนียม
ทะเลหมอกที่ภูชี้ฟ้ามีทุกวันในช่วงหน้าฝน จนถึงหน้าหนาว แต่ช่วงเวลาที่ดีที่สุดคือ ตั้งแต่เดือน พ.ย.-ก.พ.
--------------------------------------------------------------------------------
ประวัติ :

ภูชี้ฟ้า เป็นส่วนหนึ่งของเทือกดอยผาหม่น ที่เป็นพรมแดนไทย-ลาว ด้าน จ.เชียงราย-พะเยา ลักษณะเป็นหน้าผาหินตั้ง อยู่บนเส้นกั้นพรมแดนพอดี ในอดีต เป็นพื้นที่เคลื่อนไหวของ พคท. ด้วยสภาพภูมิประเทศที่สูงชัน จึงเป็นฐานที่มั่นที่สำคัญ ชาวลาวและชาวไทย ในพื้นที่เรียกผาหินที่ชี้เหยียดตรงขึ้นไปบนฟ้าว่าภูฟ้า เมื่อปัญหาด้านความมั่นคงคลี่คลาย มีการตัดถนนขนานแนวชายแดน ไทย-ลาว จากบ้านผาตั้ง ภูชี้ฟ้า ไปถึง อ.เชียงคำ ภูชี้ฟ้าจึงเริ่มเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว ตั้งแต่ปี พ.ศ.2534 เป็นต้นมา

อย่างไรก็ตาม บนยอดภูชี้ฟ้า เป็นจุดที่ยื่นจากแนวเขตพรมแดน จึงไม่สามารถระบุชัดได้ว่า อยู่ในเขตไทยหรือลาว แต่ทางขึ้นสู่ยอดภูชี้ฟ้านั้นอยู่ในเขตไทย เคยมีการปักธงชาติไทยบนปลายสุดของหน้าผา แต่ในวันถัดมา ทหารลาวก็จะนำธงลาวมาปักเคียงคู่กันด้วย ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย จึงห้ามนักท่องเที่ยวพักแรมบนภูชี้ฟ้า
--------------------------------------------------------------------------------
การเดินทาง :

ทางรถยนต์ส่วนตัว การเดินทางไปยังภูชี้ฟ้า ได้สองเส้นทาง คือ เส้นทางด้าน อ.เทิง และเส้นทางผ่าน อ.เชียงของ

เส้นทางแรกใกล้และสะดวก สภาพถนนดี รถเก๋งสามารถไปถึงได้ จากสี่แยกแม่กรณ์ตัวเมืองเชียงราย ใช้ทางหลวงหมายเลข 1020 (เชียงราย-เทิง) ระยะทาง 64 กม. ถึง อ.เทิง ใช้ทางหลวงหมายเลข 1021 (เทิง-เชียงคำ) อีก 6 กม. เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 1155 ที่หลัก กม.94 เป็นทางลาดยางแต่ค่อนข้างแคบ คดเคี้ยวไปตามไหล่เขา ผ่านปางคำ บ้านรักถิ่นไทย บ้านรักแผ่นดิน และบ้านแผ่นดินทอง เมื่อถึงหลัก กม.25 จะเป็นทางโค้งขึ้นเขาชัน มีแยกขวามือ เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 1093 ซึ่งจะเลียบแนวชายแดนไทย-ลาว ไป อ.เชียงคำ จ.พะเยา ผ่านบ้านราษฎร์ภักดี (บ้านเช็งเม้ง) ซึ่งเป็นหมู่บ้านชาวม้ง ระยะทางรวม 11 กม. มีทางแยกซ้ายมือ มีป้ายบอกทางไปยังจุดชมวิวภูชี้ฟ้า ทางช่วงนี้ลาดยางเรียบ แต่สูงชันและคดเคี้ยว ระยะทาง 1.7 กม. ผ่านที่ทำการวนอุทยานภูชี้ฟ้า ไปสิ้นสุดที่ลานจอดรถ

การสร้างบล็อก

1.ขั้นตอนแรกเราต้องสมัครสมาชิก ของ http://www.gmail.com/ เมื่อสมัครเสร็จแล้ว เข้าไป สร้างบล็อก ที่ http://www.blogger.com/ จะเห็นดังรูป





2. ส่วนที่จะสมัครให้ดูใกล้ๆ มีข้อสังเกตด้านบนขวาสุด จะเห็นช่องให้เลือกภาษา ยังไงก็แนะนำว่าเลือก "ภาษาไทย" ไว้ก่อน จะได้ศึกษาคำสั่งต่างๆ ได้ง่ายขึ้น




3.ก็ใส่อีเมล์ และรหัส ไปในช่องข้างบน แล้วกดเมนู "ลงชื่อเข้าใช้งาน" เลยก็จะไปสู่หน้าการสร้างบล๊อกได้เลยค่ะ




4. หน้าตาของขั้นตอน (step) ที่ 2 ก็เป็นการตั้งชื่อเว็บบล็อก และตั้งชื่อ URL หรือคล้ายโดเมนเนม ตรงนี้ขอแนะนำว่า การตั้งชื่อเว็บบล็อก ไม่ต้องไปซีเรียส สามารถเปลี่ยนได้ แต่ที่ซีเรียสคือ การตั้งชื่อ URL หรือ sub domain name นี่แหล่ะค่ะ เพราะมันแก้ไขไม่ได้ ตั้งแล้วตั้งเลย (ยกเว้นแต่จะลบบล็อกทิ้งเลย)




5. หน้าเว็บเพจสุดท้าย หรือขั้นตอนสุดท้ายของการสร้างบล็อก คือ การเลือก "แม่แบบ" หรือ "theme" หรือ รูปแบบ-หน้าตา ของเว็บบล็อกของเราเอง ซึ่งผมก็ขอแนะนำว่า เลือกๆ ไปก่อนเถอะ มันไม่ได้สำคัญอะไร เพราะสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ในบทความที่เกี่ยวข้องตอนแนะนำเมนูต่างๆ จะอธิบายให้อีกที จากนั้นก็กด "ลูกศร-ดำเนินการต่อ" ได้เลย



6. จะพบหน้าเว็บเพจ "บล็อกของคุณถูกสร้างเสร็จแล้ว" จากนั้นกดปุ่มลูกศร "เริ่มต้นการเขียนบล็อก" ได้เลยเพื่อเริ่มเขียนบล็อก





7. เมื่อมาถึงขั้นตอนนี้ ก็ให้ใส่ข้อความที่ต้องการ




8.เมื่อกดเมนูสีส้มที่เขียนว่า "เผยแพร่บทความ" จะเห็นหน้าเว็บเพจนี้ก่อนค่ะ "เผยแพร่บทความบล็อกของคุณเสร็จสมบูรณ์" จากนั้นควรกดเมนู "ดูบล็อก" ก็จะเห็นหน้าเว็บบล็อกของเรา ซึ่งก็มีรปแบบหน้าตาที่เลือกๆ ไปก่อนหน้านี้ ที่แนะนำว่าเดี๋ยวเปลี่ยนทีหลังได้ค่ะ ก่อนจะไปดูหน้าเว็บบล็อกที่เสร็จแล้ว ขอแนะนำอีกวิธี
ccแเมนู "แก้ไขบทความ" ถ้าเรากดเมนูนี้ จะไปสู่บทความที่เราพึ่งจะเขียนบทความมาก่อนหน้ารนี้ เพื่อเข้าไปแก้ไขเนื้อหาในบทความได้ค่ะ
ส่วนเมนู "สร้างบทความใหม่" ถ้ากดก็จะไปที่หน้าการเขียนบทความใหม่ค่ะ



9. กดเมนู "ดูบล็อก" ก็จะเห็นหน้าตาเว็บบล็อกของเราเอง ตามตัวอย่างข้างบน ถือว่าจบขั้นตอนการสร้างบล็อกแล้วนะค่ะ












































ข้อควรปฏิบัติในการฝึกงาน

1. อย่าไปสาย การเริ่มฝึกงานวันแรก บางหน่วยงานจะจัดผู้รับผิดชอบสำหรับนักเรียน/นักศึกษาที่ฝึกงานไว้เรียบร้อยแล้ว ซึ่งในวันนี้จะต้องมีการแนะนำงาน สถานที่ แนะนำบุคลากร การปฏิบัติตนในขณะทำงาน หรือรายละเอียดปลีกย่อยอื่น ๆ และกรณีที่นักเรียน/นักศึกษา ไปฝึกงานด้วยกัน ซึ่งแต่ละสถานศึกษามักจะส่งรายชื่อให้สถานประกอบการ อย่างน้อย 2 คน ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้ารับการปฐมนิเทศจากผู้รับผิดชอบในเวลาพร้อมเพรียงกัน (นัดแนะให้เรียบร้อย) จะทำให้ไม่เสียเวลากับหน่วยงานนั้น ๆ เป็นการสร้างความประทับใจครั้งแรกให้กับสถานประกอบนั้นๆ ไม่ไปตรงเวลา คงจะต้องบอกว่า ให้ไปก่อนเวลาปฏิบัติงาน ยิ่งถ้าเป็นงานเอกชน อย่าลืมว่าทุกเวลานาทีของเขาเป็นเงินทองที่ต้องได้ต้องเสีย2. พบแผนกบุคคล กรณีที่นักเรียน/นักศึกษาไม่ได้ไปยื่นสมัครขอฝึกงานด้วยตัวเอง แต่สถานศึกษาเป็นผู้ติดต่อให้ ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่ นักเรียน/นักศึกษาจะต้องถามรายละเอียดเบื้องต้นกับครูผู้ดูแลการฝึกงานว่า จะให้ติดต่อกับใคร เพื่อเตรียมพร้อมก่อนจะไปฝึกงาน หรือกรณีที่ไม่รู้ข้อมูล ก็สามารถติดต่อกับแผนกบุคคลหรือแผนกทรัพยากรมนุษย์ (ปัจจุบันหน่วยงานใหญ่จะนิยมใช้คำนี้) ส่วนการฝึกงานต่างจังหวัด ถ้าเป็นหน่วยงานราชการส่วนใหญ่มักจะให้งานประชาสัมพันธ์หรืองานธุรการเป็นผู้รับผิดชอบด่านแรกของหน่วยงานนั้น ๆ และ ถ้าเป็นสถานประกอบการขนาดเล็ก ก็สามารถไปพบเจ้าของสถานประกอบการแห่งนั้นๆ ได้เลย การสอบถามล่วงหน้าก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่พึ่งปฏิบัติ เพื่อจะทำให้สถานประกอบการได้เตรียมตัวหรือรับทราบว่าจะมีเด็กหน้าใสๆ มาร่วมงาน โดยการโทรศัพท์บอกกล่าวว่า เป็นนักเรียน/นักศึกษาที่จะมาฝึกงาน และอาจจะสอบถามเพิ่มเติมได้ว่าจะติดต่อกับใครเมื่อไปถึงสถานประกอบการนั้น ๆ หรือกรณีที่ไปติดต่อเอง บุคคลที่สัมภาษณ์หรือให้ข้อมูลและตัดสินใจในวันที่ไปสมัครก็น่าจะเป็นผู้ที่รับผิดชอบ สำหรับนักเรียน/นักศึกษาของวิทยาลัยเกษตรฯ อาจจะแตกต่างจากที่อื่นคือ ครูจะไปพร้อมกับนักเรียน/นักศึกษา ซึ่งสร้างความอบอุ่นใจให้กับผู้จะฝึกงานและสร้างความสัมพันธ์อันดีให้กับสถานประกอบการ ต้องขอบอกว่า ข้อควรปฏิบัตินี้ไม่ควรจะละเลยและไม่ควรจะจางหายไป3. อย่าอายที่จะถาม เมื่อไปแล้วไม่พบผู้ที่ได้รับข้อมูลมา ก็คงจะต้องสอบถามให้ได้ อย่าท้อแล้วรีบเปลี่ยนสถานประกอบการไปก่อนหล่ะ เพราะสถานประกอบการ เวลาทำงานอาจจะแตกต่างจากหน่วยงานทั่วไปหรืออาจจะมีงานด่วน งานรีบ งานเร่ง ที่ลืมที่จะให้ใครรับผิดชอบเรื่องนี้ การแต่งกาย รวมถึง เสื้อผ้า หน้า ผม เครื่องแบบของสถานศึกษานักเรียนหญิง/ชาย ก็ควรเป็นไปตามที่สถานศึกษากำหนด นอกเสียจากสถานประกอบการนั้น ๆ มีเครื่องแบบสำหรับนักเรียน/นักศึกษาฝึกงาน มีหลายหน่วยงานจะมีป้ายบอกว่า เป็นนักเรียนฝึกงาน หรือ trainee ติดไว้ และก็คงจะต้องไม่ลืมว่า เราคงจะต้องติดไว้ตลอดจนเสร็จสิ้นระยะเวลาการฝึกงาน อีกสิ่งหนึ่งที่สังเกตได้คือ รองเท้าที่นักศึกษาหญิง เมื่อไปฝึกงานระยะแรกจะสวมรองเท้าได้ถูกระเบียบ จากนั้นก็จะลากรองเท้าแตะ แม้ที่ทำงานอนุญาตก็คิดว่า ไม่น่าจะเหมาะสมกับสถานภาพของการฝึกงาน ในทำนองเดียวกันกับนักศึกษาชาย โดยเฉพาะนักศึกษาแผนกวิชาทางด้านอุตสาหกรรมก็ยิ่งมีความจำเป็นทึ่จะต้องแต่งกายในอยู่ในระเบียบและรัดกุม เพราะเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เครื่องแบบเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงสถานศึกษานั้น ๆ ก็คงจะต้องให้นักศึกษาตระหนักว่า สิ่งที่บุคคลภายนอกเห็นนั้นจะบอกกล่าวต่อ ในภาพบวกหรือภาพลบ ทรงผมก็คงจะต้องบอกกล่าวในที่นี้ ว่า คำว่าเหมาะสมกับสภาพนักเรียน/นักศึกษา เพราะเทรนด์ทรงผมแต่ละยุคสมัยของวัยรุ่น มองอย่างไรมันไม่ก็ค่อยเหมาะกับการทำงาน คงต้องระวังในเรื่องนี้เช่นกัน4. เอกสารประกอบการฝึก เอกสารต่าง ๆ ได้แก่ หนังสือรายงานตัวการฝึกงาน บันทึกการฝึกงาน (รายละเอียดและประวัติส่วนตัวต่าง ๆ บันทึกให้ครบถ้วน) ยกเว้นผู้ควบคุมดูแลการฝึกที่จะได้รายละเอียดในวันแรกที่ฝึกงาน แบบการประเมิน (ทางด้านพฤติกรรม) อย่าลืมที่จะสอบถามว่าใครจะเป็นผู้ลายมือชื่อกำกับดูแลควบคุมการทำงานแต่ละวัน
5. พยายามจำชื่อ ในการทำงานวันแรก จะต้องจดจำชื่อ เพื่อนร่วมงานให้ได้ รวมถึงหน้าที่การงาน
6. อย่าลืมว่า เพื่อนร่วมงาน เปรียบเสมือนครูฝึกของเราเองฉะนั้นการปฏิบัติตนกับผู้ร่วมงานต้องมีสัมมาคารวะ และต้องการยอมรับความจริงว่า เราเข้าสู่โลกของการทำงานจริง จะมีสถานการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้น ไม่ว่า จะเป็นเรื่องการนินทาว่าร้าย การทะเลาะวิวาท ความไม่พึงพอใจ การอิจฉาริษยา ซึ่งก็ไม่ควรนำเรื่องเหล่านั้นมาเล่าต่อหรือจับกลุ่มนินทาร่วมกันกับคนที่ทำงาน ระยะเวลาที่ พวกเรามาฝึกงานนานที่สุดไม่น่าจะเกิน 1 ภาคเรียน เพราะฉะนั้น ท่องจำคำว่า อดทนให้ได้ แยกแยะให้ได้ว่า สิ่งใดควรจะทำหรือไม่ทำและเปรียบเทียบถึงผลที่จะตามมา และอย่าลืมว่า พวกเรายังมีครูนิเทศ ครูที่ปรึกษาที่จะให้คำแนะนำได้ตลอดเวลา7. ยิ้ม หน้าตาคงจะเปลี่ยนแปลงไปได้ยาก แต่การยิ้มเป็นเสน่ห์ที่ทุกคนมีอยู่ในตัว ให้ยิ้มมาจากใจไม่ใช่ฝืน8. เตรียมพร้อมที่จะต้องฟังการนิเทศอีกครั้งหนึ่ง สมุด ปากกา เตรียมให้พร้อมที่จะจดหรือบันทึก และต้องนั่งฟังอย่างตั้งใจ เวลาตรงนี้คงไม่มากเท่ากับการปฐมนิเทศจากสถานศึกษา เพราะสถานประกอบการคงต้องใช้เวลาเพื่อการทำงานให้มากที่สุด วันแรกของการฝึกงาน จะเป็นวันแห่งความตื่นเต้นของนักเรียน/นักศึกษาฝึกงานทุกคน บ้างประทับใจ กับวันแรกที่ไป บ้างถอดใจกับวันนี้ ก็คงจะต้องบอกว่า สร้างความมั่นใจในตัวเองมากที่สุด

ขั้นตอนการสมัครงาน

ขั้นตอนการสมัครงาน
1. การเตรียมตัวก่อนการสมัครงาน
2. การกรอกใบสมัคร
3. การเขียนประวัติย่อ (RESUME)
4. การเขียนจดหมายสมัครงาน
5. การสอบข้อเขียน หรือการทดสอบความสามารถ
6. การสัมภาษณ์
7. การติดตามผล

รายละเอียด ขั้นตอนการเตรียม ตัวสมัครงาน เฉพาะในการเตรียมตัวก่อนการสมัครงาน การกรอกใบสมัคร การเขียนประวัติย่อ (RESUME) และการเขียนจดหมายสมัครงาน มีดังนี้

1. การเตรียมตัวก่อนการสมัครงาน
ได้แก่ การเตรียมตัว เตรียมใจ เตรียมบุคลิกท่าทาง ตลอดจนเตรียมหลักฐานเอกสารต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ ในการสมัครงานไว้ให้พร้อม เช่น บัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน ใบรับรองผลการศึกษา ประกาศนียบัตร ปริญญาบัตร ประวัติย่อ ซึ่งหลักฐานเหล่านี้ ควรมีการ ถ่ายเอกสาร เตรียมไว้เป็นชุด ๆ หลาย ๆ ชุด เพื่อพร้อมที่จะใช้ได้ทันที รูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว เขียนชื่อ-นามสกุล หลังรูป จดหมายรับรองการฝึกงาน (ถ้าเคยฝึกงาน) หนังสือรับรองการทำกิจกรรมนิสิต ใบยกเว้นการรับราชการทหาร เครื่องใช้ในการกรอกใบสมัคร ปากกา (ดำหรือน้ำเงิน) ยางลบ ไม้บรรทัด ชื่อที่อยู่ของผู้ที่เราจะอ้างอิงถึง (ขออนุญาตเสียก่อน) เสื้อผ้าชุดที่เรียบร้อยที่สุดหรือชุดที่ทำให้เรามั่นใจมากที่สุด ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท-หน่วยงานที่เราต้องการสมัคร รวมทั้งลักษณะงานในตำแหน่งที่สมัคร

2. การกรอกใบสมัคร
ใบสมัครนับเป็นเครื่องมือลำดับแรกในการคัดเลือกบุคลากรเข้าทำงาน เพราะส่วนใหญ่ใช้วิธีการคัดเลือกผู้สมัครเข้ารับการสัมภาษณ์ โดยพิจารณาจากรายละเอียดในใบสมัคร เช่น กิจกรรมที่เคยทำขณะศึกษาอยู่ลักษณะของงานและความรับผิดชอบที่มีอยู่ นอกจากนี้ ผู้สัมภาษณ์ยังใช้ศึกษาเพื่อทำความคุ้นเคยกับผู้สมัครและจะเตรียมการซักถามเพิ่มเติมถึงรายละเอียดในบางหัวข้อ ขณะทำการสัมภาษณ์ ดังนั้น ผู้สมัครจึงควรทำความเข้าใจกับใบสมัครก่อนที่จะกรอกเพื่อจะได้กรอกได้อย่างถูกต้องเรียบร้อยและดึงดูดความสนใจ ของผู้พิจารณาใบสมัคร

3. การเขียนประวัติย่อ (RESUME)
คำว่า "Resume" นี้ มาจากภาษาฝรั่งเศส ว่า resume ซึ่งก็มีความหมายว่า Summary แปลเป็นไทยว่า สรุป หรือ ย่อ ฉะนั้นเวลาเขียนจะใช้สะกดแบบฝรั่งเศส หรือแบบอังกฤษก็ได้ด้วยกันทั้งสองแบบปัจจุบันนี้ Resume นับว่ามีความสำคัญเท่า ๆ กับจดหมายสมัครงาน (Application Letter) ก็แทบจะว่าได้ จะเห็นได้จาก ข้อความที่ลงโฆษณางานตามหนังสือพิมพ์ หรือนิตยสารต่าง ๆ โดยฝ่ายนายจ้างจะบอกให้ผู้สมัครส่ง Resume แนบไปพร้อม กับจดหมายสมัครงานด้วย ดังจะดูได้จากข้อความที่ลงโฆษณา ซึ่งจะระบุโดยละเอียดว่าผู้สมัครต้องแนบเอกสารอะไร ไปพร้อมกับจดหมายนี้บ้าง เช่น
1. Please submit application letter stating expected salary, resume and a recent photo to ... (โปรดยื่นจดหมายสมัครงานพร้อมทั้งแจ้งเงินเดือนที่ต้องการ พร้อมทั้งแนบประวัติย่อและรูปถ่ายปัจจุบันหนึ่งรูปไปที่ ....)
2. Please send handwritten application, resume, transcript and a recent photo to ... (โปรดส่งจดหมายสมัครงานเขียนด้วยลายมือแนบประวัติย่อ ผลการศึกษาและรูปถ่ายปัจจุบันไปยัง....)

รายละเอียดในประวัติย่อ
Resume เปรียบเสมือนเครื่องเปิดประตูที่ดี กล่าวคือ ให้รายละเอียดเกี่ยวกับตัวผู้สมัครได้โดยย่อ และสามารถทำให้ผู้อ่านเข้าใจได้ ภายในเวลาอันรวดเร็ว นอกจากนี้ ยังเปรียบได้กับใบโฆษณาคุณสมบัติของตนเองอีกด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้เขียนก็ต้องให้ความสนใจ เป็นพิเศษว่าใน Resume นั้น ควรจะต้องประกอบด้วยรายละเอียดอะไรบ้าง และมีระเบียบที่จะต้องปฏิบัติอย่างไร

ลักษณะของ Resume ที่ดี
1). ยาวไม่เกิน 2 หน้ากระดาษ ซึ่งมีขนาด A4 (หรือประมาณ 8"x12") และเป็นกระดาษสีขาว มีคุณภาพ แต่ถ้าเป็นนักศึกษาจบใหม่ ด้วยแล้ว ควรจะเขียนให้จบในหนึ่งหน้ากระดาษเท่านั้น และรวมเฉพาะรายละเอียดที่จำเป็น และต่อประเด็นจริง ๆ เท่านั้น
2). อย่าใช้คำย่อในคำที่ไม่ควรย่อ เช่น วันเดือนปีเกิด ควรเขียนคำเต็ม ส่วนคำอื่น ๆ ถ้าจะย่อหรือไม่ย่อนั้น ให้ดูตามหลักสากลนิยมเป็นตัวอย่าง
3). ในกรณีที่ระบุงานอดิเรกเข้าไว้ด้วย ควรระวังว่างานอดิเรกที่เราเอ่ยถึงนั้นมีความเหมาะสมกับงานที่เราสมัครหรือเปล่า

4. การเขียนจดหมายสมัครงาน
การเขียนจดหมายสมัครงาน ต้องพิมพ์ให้สะอาดเรียบร้อยด้วยกระดาษพิมพ์ขนาดสั้น (8x1/2" x 11") ทุกครั้ง แต่ถ้าในประกาศรับสมัครระบุให้เขียนด้วยลายมือตนเอง ก็ควรเขียนตัวบรรจง ให้อ่านง่ายสะอาดเรียบร้อยและสวยงาม ควรมีความยาวจำกัดเพียง 1 หน้ากระดาษ ใช้ฟอร์มการเขียนแบบจดดหมายธุรกิจ และต้องปราศจากข้อผิดพลาดใด ๆ ทั้งสิ้น ควรกล่าวเจาะจงนามบุคคลแทนการกล่าวตำแหน่งหรือผู้เกี่ยวข้อง (คุณ...แทน ผู้จัดการฝ่ายบุคคล) แต่ถ้าไม่แน่ใจว่าจะสามารถสะกด ชื่อ-นามสกุล ได้อย่างถูกต้อง หรือไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นใครก็ควรจะใช้ "ผู้จัดการฝ่ายบุคคล" หรืออื่น ๆ ที่ประกาศรับสมัครงานระบุไว้
ต้องส่งพร้อม RESUME ทุกครั้ง ข้อมูลที่ปรากฏอยู่บนจดหมายแนะนำหรือจดหมายสมัครงานควรที่จะทำให้นายจ้างหรือแผนกบุคคลสนใจและเรียกตัวเข้าสัมภาษณ์ ข้อมูลที่กล่าวนี้อาจแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้ 1). คุณเป็นใคร และทำไมคุณจึงเขียนจดหมายส่งไปยังบริษัท 2). กล่าวถึงความสามารถของคุณที่คาดว่าจะมีคุณค่าต่อบริษัท 3). กล่าวถึงความสนใจของคุณที่มีต่อบริษัทโดยการพูดถึงสิ่งที่เด่นเป็นเอกลักษณ์ของบริษัท เพื่อแสดงให้เห็นว่าคุณได้สละเวลาศึกษาค้นคว้าความรู้เกี่ยวกับบริษัท โดยสรุปแล้วย่อหน้าสุดท้ายของจดหมายสมัครงานมีไว้เพื่อ 1. ขอนัดเวลาสัมภาษณ์ 2. ขอฟังคำตอบจากนายจ้างหรือแผนกบุคคล 3. บอกว่าคุณจะติดต่อภายหลัง
โปรดจำไว้เสมอว่าจดหมายสมัครงานต้องส่งควบคู่กับ RESUME ทุกครั้ง